วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561




Diary No.12 
Friday 7 November 2018 : 08.30 AM.- 12.30 PM

Knowledge Summary สรุปความรู้
อาจารย์ได้ตรวจคลิปวิดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์ของต่ละกลุ่ม อย่างละเอียด พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับแก้ไขจุดบกพร่อง ในกระบวนการสอนการทดลอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะนำไปจัดกิจกรรมสอนเด็กๆ ชั้นอนุบาล 3 ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม โดยมีชื่อว่า โครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้ มีทั้งหมด 4 ฐานการทดลอง ได้แก่

1. ชื่อฐาน ติด ดับ จับ ต่อ
🔺 สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข ➔ การพูดกระบวนการในบางขั้นตอน เช่น
ปัญหา : เด็ก ๆ คิดว่าไฟติดได้อย่างไร ( ไฟจะติดเมื่อวงจรไฟฟ้าครบรอบ )
สมมติฐาน : ถ้าครูต่อวงจรไฟฟ้าจนครบเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ( ถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กหาคำตอบ ) เด็กๆ คิดว่าวัสดุใดบ้างที่ทำให้ไฟติด และ วัสดุใดบ้างที่ทำให้ไฟไม่ติด
การสรุปการทดลอง : ไฟติด เพราะ ไฟจากแหล่งกำเนิดวนมาได้ครบวงจร โลหะทำให้ไฟติด เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า ไฟไม่ติด เพราะ ไฟจากแหล่งกำเนิดวนมาไม่ครบวงจร เพราะวัสดุที่เป็นอโลหะ เป็นฉนวนไฟฟ้า จะป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่าน เพราะฉะนั้นไฟจะติดก็ต่อเมื่อไฟฟ้าไหลครบวงจร

2. ชื่อฐาน ปริศนา ซี โอ ทู
🔺 สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข แก้ไขตัวอักษรเขียนป้ายขั้นตอนกระบวนการควรเขียนให้ตัวเท่ากัน มองเห็นชัดเจน หากวางขั้นตอนด้านหลัง ควรมีไม้ชี้ขั้นตอน ชี้ลูกศร และวาดรูปในขั้นตอนการสรุปให้เห็นภาพชัดจน เช่น วาดแก้วน้ำ 3 ใบ สรุปผลว่า
- แก้วที่ 1 ละลาย
- แก้วที่ 2 ไม่ละลาย
- แก้วที่ 3 ละลายและเกิดฟองซ่า

3. น้ำนิ่งไหลลึก
🔺 สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข ➔ ขั้นตอนการสอนและขั้นตอนการสรุปผลการทดลอง ( ควรมีผ้าทำความสะอาดมือหลังจากจับวัสดุ )
ขั้นตอนการสอน : เทน้ำใบที่ 1 สลับไปมากับแก้วใบที่ 2 เด็กๆสังเกต / รูปร่างแก้วเหมือนกันไหม / เรื่องปริมาณ ให้เทน้ำใส่แก้วที่มีปริมาณเท่ากัน แต่เทใส่แก้วที่มีรูปร่างต่างกัน ให้เด็กๆสังเกต
สรุปการทดลอง : น้ำเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามที่ใส่ เช่น ขวดแบน ขวดกลม เพราะน้ำจะเปลี่ยนหน้าตาตามภาชนะ ( ถ้าเด็กตอบตามที่ตาเห็นแสดงว่าเด็กยังไม่ผ่านขั้นอนุรักษ์ ) คลิบหนีบกระดาษลอยในน้ำได้เพราะมีแรงตึงผิว การหยดน้ำยาล้างจานลงในแก้วน้ำ ทำให้แรงตึงผิวของน้ำขาด เพราะน้ำยาล้างจานช่วยลดแรงตึงผิว

4. ความลับของสีดำ
สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข การพูดกระบวนการในบางขั้นตอน ควรอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น
ปัญหา : สีดำทำมาจากอะไร
สมมติฐาน : ถ้าครูนำกรวยใส่น้ำจะเกิดอะไรขึ้น ( ถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กหาคำตอบ )




โครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้ 4 ฐาน


ฐานที่ 1 ติด ดับ จับ ต่อ
ปัญหา : เด็ก ๆ คิดว่าไฟติดได้อย่างไร
สมมติฐาน : - ถ้าครูต่อวงจรไฟฟ้าจนครบวงจรเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- เด็กๆ คิดว่าวัสดุใดบ้างที่ทำให้ไฟติด และ วัสดุใดบ้างที่ทำให้ไฟไม่ติด
ขั้นตอนการทดลอง
1. ครูนำวัสดุที่เป็นโลหะและอโลหะใส่ในตะกร้าเพื่อให้เด็กหยิบมาทำการทดลอง
2. ครูนำสายไฟปากหนีบจระเข้ทั้ง 3 สาย มาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า เด็กๆสังเกตว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
3. ครูถอดขั้วสายไฟปากหนีบจระเข้ ออกจากกันให้เด็กๆสังเกตอีกครั้งว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
4. ครูให้เด็กๆ แต่ละคน หยิบวัสดุทดลองที่อยู่ในตะกร้าคนละ 1 ชิ้น นำมาต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า แล้วให้เด็กๆสังเกตุว่าวัสดึนั้นทำให้หลอดไฟสว่างหรือไม่
5. ถ้าหลอดไฟติด วัสดุนั้นเป็นตัวนำไฟฟ้า ถ้าหลอดไฟไม่ติด วัสดุนั้นไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า (ฉนวนไฟฟ้า)
6. ครูให้เด็กๆแยกวัสดุที่ทำให้ไฟติด (ตัวนำไฟฟ้า) และวัสดุที่ทำให้ไฟไม่ติด (ฉนวนไฟฟ้า)
สรุปการทดลอง : ไฟติด เพราะ ไฟจากแหล่งกำเนิดวนมาได้ครบวงจร โลหะทำให้ไฟติด เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า ไฟไม่ติด เพราะ ไฟจากแหล่งกำเนิดวนมาไม่ครบวงจร เพราะวัสดุที่เป็นอโลหะ เป็นฉนวนไฟฟ้า จะป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่าน เพราะฉะนั้นไฟจะติดก็ต่อเมื่อไฟฟ้าไหลครบวงจร



ฐานที่ 2 ปริศนา ซี โอ ทู 
ประเด็นปัญหา : ถ้าเอาน้ำมะนาวผสมกับเบกกิ้งโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือ จะเกิดปฏิกิริยาอะไรขึ้น
สมมติฐาน : ถ้าเทน้ำมะนาวลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทดลอง
1. ครูให้เด็กตักเบกกิ้งโซดา น้ำตาลทราย ผงฟู และเกลือ อย่างละ 2 ช้อน ใส่ในแก้วพลาสติก ใบที่ 1,2,3,4 ตามลำดับ
2. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาว 3 ช้อน ใส่ลงในแก้วใบที่ 1 ที่มีเบกกิ้งโซดา เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วบันทึก
3. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาว 3 ช้อน ใส่ลงในแก้วใบที่ 2 ที่มีน้ำตาลทราย เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วบันทึก
4. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาว 3 ช้อน ใส่ลงในแก้วใบที่ 3 ที่มีผงฟู เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วบันทึก
5. ครูให้เด็กตักน้ำมะนาว 3 ช้อน ใส่ลงในแก้วใบที่ 4 ที่มีเกลือ เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วบันทึก
สรุปผลการทดลอง : แก้วใบที่ 1 และ 3 มีการละลายและเกิดฟอง
                                 แก้วใบที่ 2 และ 4 มีการละลายอย่างเดียว
น้ำมะนาวเป็นกรด ทำปฏิกิริยากับเบกกิ้งโซดาและผงฟู ทำให้เกิดฟองอากาศ อากาศนั้นคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์




ฐานที่ 3 น้ำนิ่งไหลลึก
ประเด็นปัญหา : น้ำเปลี่ยนรูปร่างได้อย่างไร
สมมติฐาน :  ถ้าครูนำแก้วแต่ละใบที่ต่างกัน ใส่น้ำที่เท่ากันเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทดลอง
1. ครูเทน้ำใบที่ 1 สลับไปมากับแก้วใบที่ 2 แล้วให้เด็ก ๆ สังเกต
2. ครูถามเด็ก ๆ ว่า รูปร่างแก้วเหมือนกันไหม
3. ครูเทน้ำปริมาณที่เท่ากัน ใส่แก้วแต่ละใบ ที่มีลักษณะรูปร่างที่ต่างกัน
4. ครูให้เด็กๆ เทน้ำใส่แก้วที่มีปริมาณเท่ากัน แต่เทใส่แก้วที่มีรูปร่างต่างกัน ให้เด็กๆสังเกต ครูถามเด็กว่า น้ำในแก้วทั้งหมดนี้เท่ากันไหม
5. ครูบอกเด็กๆ ว่า น้ำเปลี่ยนแปลงตามรูปร่างตามแก้วที่ใส่
6. ครูนำน้ำในแก้วมาวาง ครูให้เด็กหยิบคลิบหนีบกระดาษมาใส่ในน้ำ แล้วให้เด็ก ๆ สังเกตว่าคลิบหนีบกระดาษจมหรือลอย
7. ครูหยดน้ำยาล้างจานลงในแก้วที่มีคลิบหนีบกระดาษอยู่ แล้วให้เด็ก ๆ สังเกตความเปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง : น้ำเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามที่ใส่ เช่น ขวดแบน ขวดกลม เพราะน้ำจะเปลี่ยนหน้าตาตามภาชนะ ( ถ้าเด็กตอบตามที่ตาเห็นแสดงว่าเด็กยังไม่ผ่านขั้นอนุรักษ์ ) คลิบหนีบกระดาษลอยในน้ำได้เพราะมีแรงตึงผิว การหยดน้ำยาล้างจานลงในแก้วน้ำ ทำให้แรงตึงผิวของน้ำขาด เพราะน้ำยาล้างจานช่วยลดแรงตึงผิว




ฐานที่ 4 ความลับของสีดำ
ประเด็นปัญหา : เพราะอะไรสีดำถึงสามารถละลายน้ำและเกิดเป็นสีต่างๆขึ้น
สมมติฐาน : ถ้าใช้ปากกาเมจิกสีดำแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทดลอง
1. ครูแจกกระดาษกรองให้ เด็กๆ คนละ 2 แผ่น
2. ครูให้เด็กๆ ตัดกระดาษตรงกลางเป็นวงกลมเล็กๆ แล้วใช้ปากกาเมจิกสีดำ วาดรอบๆวงกลมเล็กๆ นั้น
3. ครูให้เด็กๆ ม้วนกระดาษกรองแผ่นที่ 2 เป็นกรวยแล้วสอดเข้าไปในวงกลมเล็กๆ ของกระดาษกรองแผ่นแรก
4. ครูนำกระดาษกรองทั้ง 2 แผ่นจุ่มลงในแก้วที่มีน้ำ วางกระดาษที่วาดวงกลมเล็กๆ ให้อยู่บนขอบแก้ว ส่วนกระดาษที่เป็นกรวยให้จุ่มลงไปในน้ำ
5. ครู ให้เด็กๆ สังเกต น้ำที่ซึมเข้าในกระดาษกรองว่าเกิดอะไรขึ้น
6. ครูนำผักผลไม้ มาบีบให้น้ำออกมาแล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง : ปากกาเมจิกสีดำเมื่อหยดน้ำไปแล้ว จะมีสีต่าง ๆ ออกมา เพราะ สีดำเกิดมาจากการรวมกันของหลายๆสี


การทดลอง ฐาน ติด ดับ จับ ต่อ


สมาชิกในกลุ่ม

            1. นางสาวสุพรรณิการ์      สุขเจริญ
  2. นางสาวอภิชญา     โมคมูล
3. นางสาวอรอุมา    ศรีท้วม 
4. นางสาวณัฐชา    บุญทอง
   5. นางสาวปรางทอง    สุริวงษ์


ภาพการจัดกิจกรรมโครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้

ฐาน ติด ดับ จับ ต่อ





 

ฐานของเพื่อนๆ





                                          



Technique เทคนิคที่อาจารย์สอน 
            อาจารย์ให้ดูสื่อว๊ดีโอการทดลองของแต่ละกลุ่ม สอนการแก้ไขปัญหา การอธิบายเป็นคำพูดที่สามารถนำไปใช้สอนได้จริงกับเด็ก

Skills ทักษะ 
            ได้ทักษะการฟัง ดู พูด และการคิดเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่่สามารถนำมาใช้ในขั้นตอนการทดลองสิ่งต่างๆ มีกระบวนการคิดอย่างเป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม และการแก้ไขปัญหาในการเฉพาะหน้า การมีสติและตอบสนองกับเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้า ( ในการสอนเด็กควรมีวิธีการอย่างไรให้เด็กฟัง และสนใจกับสิ่งที่ครูสอน ) และได้ทักษะการระดมความคิดจากครูและเพื่อนๆ ในการคิดโครงงาน

Apply การนำมาประยุกต์ใช้
การนำประสบการณ์ที่ได้รับจาก การสอนการทดลองสำหรับเด็กอนุบาล มาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการสอนในอนาคตข้างหน้าได้ เช่น การเก็บเด็กก่อนจะเริ่มการสอนทดลอง การมองเด็กอย่างทั่วถึง เพื่อให้รู้ว่าควรใช้เทคนิคอย่างไรเข้ามาช่วย การควบคุมเด็กแต่ละคนในขณะทดลอง การพูดด้วยน้ำเสียงต่างๆ และรวมไปถึง การใช้กิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กและสภาพแวดล้อมเพื่อคั่นเวลา


Assessment
My self : ตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความเป็นผู้นำมากขึ้น
Friend : มีความรับผิดชอบ ช่วยงานกันเป็นกลุ่มและแบ่งหน้าที่กันอย่างดี
teacher : อาจารย์สอนเข้าใจ และพยายามอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจตามกระบวนการสอน มีการแนะนำเพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปบทความ ( 7/12/61) บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องสั้ตว์  Animals             ⏩   การจัดประสบการณ์หน่วย สัตว์ อยู่ใน สาระที่...