วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561


สรุปบทความ ( 7/12/61)

บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องสั้ตว์  Animals


             การจัดประสบการณ์หน่วย สัตว์ อยู่ในสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธ ศักราช 2546 เพื่อให้เด็กได้รู้จักประเภท ลักษณะ ที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิตและประโยชน์ของสัตว์ ตลอดจนการเลี้ยงดู และการอนุรักษ์สัตว์ 

        ➤  การสอนเด็ก เรื่องสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ เป็นต้น 

การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ จากกิจกรรม ดังนี้ 

ด้านร่างกาย เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ เลียนแบบท่าทางของสัตว์ต่างๆ ได้ออกกำลังกายกลางแจ้งผ่านเกมการละเล่นเกี่ยวกับสัตว์ เช่น แม่งู ลิงชิงบอล วิ่งเปี้ยว เป็นต้น
ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กจะได้ทดลองให้อาหารสัตว์ เล่าถึงสัตว์เลี้ยงของตนเอง เป็นการปลูกฝังความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำ ใจ เมตตากรุณาต่อสัตว์ และการฟังนิทานเกี่ยวกับสัตว์อันเป็นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น นิทานอีสป
ด้านสังคม เด็กจะเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์
ด้านสติปัญญา เด็กจะได้รู้จักการดำรงชีวิตของสัตว์ชนิดต่างๆ อาหารของสัตว์ ลักษณะประเภทของสัตว์ต่างๆ

การสอนหรือจัดประสบการณ์ หน่วยสัตว์  ครูสมารถนำมาจัดเป็น 6 กิจกรรมหลัก ได้ดังนี้

➤ กิจกรรมเสริมประสบการณ์  มีวิธีต่างๆ เช่น อภิปราย การสาธิต การทดลอง บทบาทสมมติ การร้องเพลง การศึกษานอกสถานที่ โดยครูอาจเริ่มกิจกรรมด้วยสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับสัตว์ที่เด็กรู้จัก สัตว์ที่เด็กเลี้ยงไว้ที่บ้านว่ามีอะไรบ้าง การให้เด็กเล่าเรื่องสัตว์ของตนเอง หรือดูนิทานมีมีตัวละครเป็นสัตว์ เป็นต้น

➤ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ  เช่น ครูให้เด็กเคลื่อนไหวแสดงท่าทางสัตว์ชนิดที่ตนเองได้รับตามจังหวะเพลง ครูอาจจัดกิจกรรมที่เริ่มจากการร้องเพลง เช่น เพลงเลี้ยงลูกแมว “ลูกแมว 5 ตัวที่ครูเลี้ยงไว้ น้อง (ชื่อเล่นเด็ก) ขอให้แบ่งไป 1 หนึ่งตัว ลูกแมว 5 ตัว ก็เหลือน้อยลงไป นับดูใหม่เหลือลูกแมว 4 ตัว” ให้ครูพูดถึงชื่อเด็กในห้องจากเพลงนี้ไปเรื่อยๆ ให้เด็กได้รู้จักการนับจำนวนลดลง
➤ กิจกรรมสร้างสรรค์  โดยครูอาจจะให้เด็กทำกิจกรรมการวาดภาพ การระบายสี งานกระดาษ การประดิษฐ์ งานประติมากรรม เช่น การฉีกปะติดกระดาษเป็นรูปสัตว์เลี้ยง การประดิษฐ์รูปสัตว์ต่างๆจากวัสดุเหลือใช้ การปั้น หรือการพับกระดาษเป็นรูปสัตว์ เป็นต้น ทำให้เด็กได้ความรู้สึกทางอารมณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานที่ทำ

➤ กิจกรรมเสรี  เป็นการเรียนตามความสนใจของเด็ก เช่น ครูอาจจะจัดมุมวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดให้มีตู้ปลา การเลี้ยงปลาสวยงาม ให้เด็กได้ให้อาหารปลา ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักที่จะมีความเมตตา เอื้อเฟื้อต่อสัตว์ได้ นอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าว ครูอาจจะจัดมุมนิทานเกี่ยวกับสัตว์ โรงละครสัตว์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ตามใจชอบได้

➤ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมที่ให้เด็กสามารถควบคุมอวัยวะส่วนต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การเล่นเกมช้าง ครูจะแบ่งเด็กออกเป็น 2 ทีม จำนวนเท่ากัน กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดปลายทางให้มีระยะห่างเท่าๆกัน กำหนดให้ผู้เล่นแต่ละคนเป็นช้างและทำท่าทางคลานเป็นช้าง เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้เล่นคนแรกของแต่ละทีมคลานช้างไปยังจุดหมายและรีบคลานกลับมาเพื่อสัมผัสมือคนที่สองให้คลานต่อไป ทีมไหนหมดก่อนเป็นทีมชนะ นอกจากนี้ครูอาจกำหนดให้เด็กเป็นสัตว์อื่นได้อีก เช่น กบ กระต่าย นก เป็นต้น 

➤ เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ใช้การเล่นเกมเพื่อให้เด็กรู้จักสัตว์ และสร้างความสัมพันธ์เรื่องสัตว์ได้มากขึ้น เช่น ครูอาจทำเกมภาพตัดต่อสัตว์ชนิดต่างๆ เกมจับคู่ภาพสัตว์กับบัตรคำ เกมการเรียงลำดับเหตุการณ์ เกมการเรียงลำดับวงจรชีวิต เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี คือ ครูและพ่อแม่ 
     ➤ พ่อแม่สามารถพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ของลูกเกี่ยวกับสัตว์จากที่โรงเรียนได้อีกทางหนึ่ง เช่น การเลี้ยงสัตว์ไว้ที่บ้าน การพาลูกไปเที่ยวสวนสัตว์ การให้ลูกได้ดูรายการสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ในรายการโทรทัศน์
    ➤  ครูสามารถจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนก็มีความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เช่น การจัดป้ายนิเทศภาพสัตว์ การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น


สรุปวิจัย ( 7/12/61 )

     วิจัยเรื่อง...ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ของ พัชรา อยู่สมบูรณ์

ปีที่วิจัย พฤษภาคม 2553


ภูมิหลัง 
            มนุษย์จําเป็นต้องได้รับการพัฒนา โดยการปลูกฝังให้เด็กมีเจตคติที่ดี่ ต่อการรับรู้ การเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ กลั่นกรองข้อมูล เลือกใช้และสามารถนามาใช้ในสถานการณ์ที่ ตนต้องการได้อย่างเหมาะสม  ผู้วิจัยจึงสนใจนำเอากิจกรรมเสรีมีประสบการณ์ เรียกว่า กิจกรรมในวงกลม  มาศึกษาทดลอง เนื่องจาก เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกัน ทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ มุ่งปลูกฝังเด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สงเกต คิดแก้ปัญหา ให้เหตุผล และปฏิบัติ ทั้งนี้สาระการเรียนรู้เรื่อง แสง ประกอบด้วย เรื่องราวที่เกี่ยวกับ แหล่งกำเนิดและการเดินทางของแสง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ตัวกลางของแสง การหักเหของแสง การสะท้อนแสง แสงสี และ แสงกับการเจริญเติบโตของพืช จะเห็นได้ว่า หน่วยการเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่องแสง เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตและการดำรงอยู่ ของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแสงาว่างและพลังงานของแสงมาใช้ในชีวิตประจําวันทั้งทางตรงและ ทางอ้อม 
           ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ผ่านหนวยการเรียนรู้  เรื่องแสง ที่มีต่อทกษะการแสวงหาความรู้ของเดกปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ในการส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย

➤ จุดมุ่งหมายของการวิจัย           เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ก่อนและหลงการทดลอง  

➤ ความสําคัญของการวิจัย          ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้องได้นําการจัดกิจกรรม
เสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกจกรรมเพื่อพัฒนาและสงเสริ
มทักษะการแสวงหา
ความรู้ของเด็กปฐมวัย 

➤  ขอบเขตของการวิจัย
            กลุ่มประชากรที่ใช้ เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดศาลาครืน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) โดยการจับสลากนักเรียนมา 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน แล้วทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบทักษะการแสวงหาความรู้ เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีทักษะการแสวงหาความรู้ ต่ำสุด 15 อันดับสุดท้าย รวมทั้งสิ้น 15 คน เพื่อนำมาเป็น กลุ่มทดลอง

➤ ตัวแปรที่ศึกษา1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะการแสวงหาความรู้ 
                                  2.1 การสังเกต
                                  2.2 การตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัย
                                  2.3 การปฏิบัติกิจกรรม

สมมติฐาน 
              การศึกษาค้นคว้ากิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง ทําให้เด็กปฐมวัยมีทักษะการแสวงหาความรู้  สูงขึ้น

➤ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์ เรื่องแสง 
2. แบบทดสอบและแบบประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีคาความเชื่อมั่น .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมลู คือ t – test for Dependent Samples

  


ตัวอย่างแผน   สัปดาแรก กิจกรรมที่ 1



ตัวอย่างแบบทดสอบวัดการสังเกต


ผลการวิจัย
       พบว่านักเรียนที่ได้ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง มีทักษะการแสวงหาความรู้สูงขึ้น อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  



สรุปตัวอย่างการสอน ( 7/12/61 )
 เรื่อง...สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
คุณครูเด่นดวง  ธรรมเทวี โรงเรียนสำโรงเกียรติ จ.ศรีสะเกษ
➤ การจัดการเรียนการสอนปฐมวัยเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา
           การนำเข้าสู่กิจกรรม ครูใช้การเล่านิทานเรื่อง ดินสอสีรุ้ง เป็นนิทานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และให้เด็กๆ พูดตามครูทีละวรรค
➤  การให้เด็กทำกิจกรรมโดยเน้นที่ของจริง เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ตามีไว้ดู หูมีไว้ฟัง จมูกมีไว้ดมกลิ่น ปากมีไว้ชิมรส มือมีไว้สัมผัส 

ขั้นตอนการสอน เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส 

     ⏩ ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง โดยครูมีสิ่งของมาให้เด็กๆดู แล้วถามเด็กว่า เด็กๆ เห็นของสิ่งนี้มั้ย มันมีลักษณะอย่างไร เด็กๆตอบได้ว่าเป้น วงกลม ครูถามต่อว่า เด็กๆ เคยเห็นอะไรอีกมั้ยทีมีลักษณะเป้นทรงกลมแบบนี้ เด็กตอบว่า ลูกแก้ม ดวงจันทร์ ส้ม เมื่อเด็กๆ ได้เห็นของจริงเด็กก็จะซึมซับจากประสาทสัมผัสการมองขนาดรูปทรงว่า มีขนาดใหญ่และเล็ก โดยครูวางสิ่งของ 2 ชิ้น ใหญ่กับเล็กเพื่อให้เด็กเปรียบเทียบ เมื่อเด็กตอบได้ว่า อันไหนใหญ่ อันไหนเล็ก  หลังจากนั้นครูเพิ่มขนาดสิ่งของเข้าไปเป็น 3 อัน เพื่อให้เด็กเปรียบเทียบจาก ใหญ่ที่สุด - เล็กที่สุด  เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องเล็ก ใหญ่ครูจึงเชื่อมโยงไปสู่ความหนา บาง โดยครูใช้คำถามว่า อันนี้หนาหรือบาง หลังจากนั้นครูจะปล่อยให้เด็กๆ ฝึกการเรียนรู้จากการแยกแยะขนาดและ ความหนา บาง  ของวัตถุด้วยตนเอง เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน หลังจากนั้นครุทดสอบเด็กในการคาดคะเนจากกระบอกพิมพ์ใหญ่ไปเล็ก เด็กคาดคะเนได้ว่ากระบอกพิมพ์ไหนใส่ตรงไหน 
      ⏩ ประสาทสัมผัสที่ 2 การฟัง  โดยครูใช้กระบอกไม้จากกล่อง 2 สี ที่มีเสียงต่างกัน เขย่าให้เด็กฟัง โดยเขย่าจากเสียงดังสุด ไปจนถึงเสียงเบาสุด  ครูลองให้เด็กๆ ออกมาจับคู่เสียงทีละคน ว่า เสียงที่ได้ยินดังหรือเบา  มีเสียงเท่ากันไหม เด็กก็จะสามารถหาเสียงที่เท่ากันได้  โดยใช้ประสาทสัมผัสทางหู นอกจากนี้ครูยังมีเปลือกหอยมาใช้ฝึกประสาทสัมผัสการฟังให้กับเด็ก
      ⏩ ประสาทสัมผัสที่ 3 การสัมผัส   โดยใช้มือ ครูมีอุปกรณ์มาให้เด็กได้สัมผัส โดยใช้ผ้าที่มีเนื้อผ้าต่างกัน เป้นคู่ๆ แล้วให้ตัวแทนเด็กออกมา 1 คน ครูใช้ผ้าปิดตาเด็ก ครูให้เด็กจับ ลูบคลำผ้า และจำลักษณะผ้าทีละผืน แล้วบอกว่าเหมือนกันไหม จับคู่กันได้ไหม  การเรียนรู้เรื่องการสัมผัส ครูจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้จากการสัมผัสของจริงเริ่มจากรูปทรงเรขาคณิตไปจนถึงการสัมผัสเนื้อผ้า
      ประสาทสัมผัสที่ 4 การดมกลิ่น  โดยครูนำขวดโหลเล็กๆ ที่มีกลิ่น 4 กลิ่นมาให้เด็กลองดมกลิ่น แล้วให้เด็กบอกว่าหอมหรือเหม็น แล้วเป็นกลิ่นอะไร หลังจากเด็กตอบถูก ครูให้เด็กจับคู่กลิ่นที่เหมือนกันเพื่อทดสอบการใช้ประสาทสัมผัสการดมกลิ่น
     ⏩ ประสาทสัมผัสที่ 5 การชิมรส  โดยครูนำน้ำที่ผสมกันแล้วมาสอนเรื่องรสชาติต่างๆ เช่น น้ำเชื่อม น้ำมะนาว ครูลองชิมรสให้เด็กดูครูจากสีหน้าที่แสดงออก จะรู้ได้ว่าเด็กจดจำและนำไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยรับรู้ หลังจากนั้นครูให้เด็กออกมาชิมรสและให้เพื่อนๆ ทายจากหน้าตาเด็กว่าเป็นรสอะไร เช่นรสหวาน ครูให้เด็กนึกว่าอะไรที่เคยทานแล้วมีรสชาติหวาน 


  หัวใจสำคัญ ของการเรียนรู้เรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมที่จะเรียนในขั้นที่สูงต่อไป 






Diary No.15
Friday 23 November 2018 : 08.30 AM.- 12.30 PM

Knowledge Summary สรุปความรู้
( วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ) อาจารย์ได้สรุปความรู้ที่ได้สอนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนถึงวันนี้ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ความจำให้กับนักศึกษา และให้นักศึกษานำไปปรับใช้ในการเขียนบล็อก สรุปความรู้ที่ได้เรียน และนำไปใช้ในการสอบ ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาคเรียนนี้
สรุปความรู้
นักศึกษาได้ประสบการณ์มากมายในการนำไปต่อยอด ได้แก่ การได้ความรู้ในการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย คำศัพท์ในการเรียน การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากของใช้ที่มีอยู่ การจัดกลุ่มทำการทดลองวิทยาศาสตร์ การจัดโครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม ตามฐานต่างๆ การทำ Mind map  จัดทำแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องต่างๆ  ตลอดจน การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการสะท้อนกิจกรรมการเรียนรู้และทักษะที่ได้ในการเรียน เป็นต้น 


โครงการวิทยาศาสตร์น่ารู้สำหรับเด็กปฐมวัย ฐานที่ 3 ติด ดับ จับ ต่อ

⏩คลิกเพื่อเข้าชม⏪



สมาชิกในกลุ่ม 
           1. นางสาวสุพรรณิการ์      สุขเจริญ
  2. นางสาวอภิชญา     โมคมูล
3. นางสาวอรอุมา    ศรีท้วม 
4. นางสาวณัฐชา    บุญทอง
   5. นางสาวปรางทอง    สุริวงษ์



         สื่อการสอน  Mini kitchen ( มุมจำลองบทบาทสมมติ )


Mini kitchen




ขั้นตอนการสร้าง
1.ปรึกษากันและร่วมกันค้นคว้าหาข้อมูลว่าจะทำสื่อนวัตกรรมอะไร
2.วางแผนงานกัน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำสื่อนวัตกรรมที่เลือกไว้

3.นัดหมายแบ่งหน้าที่กัน และร่วมกันทำชิ้นงาน

ขั้นตอนการทำ


1.  นำกล่องลัง 2 กล่อง  ตัดฝาลังของกล่องบางส่วนที่ไม่ต้องการออก แล้วนำกระดาษสีมาห่อกับกล่อง
ลังทั้ง 4 ด้าน และภายในกล่อง
2.  กล่องลังแรก : ตัดกระดาษลังเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม 2 แผ่น โดยวัดตามขนาดกว้างของกล่อง แล้วติด 
กระดาษสีด้านเดียว หลังจากนั้นใช้กาวร้อนติดขอบแผ่นกระดาษที่ตัดแล้วใส่เข้าไปในกล่องลังวางเป็น 
2 ชั้นเท่าๆกัน

3.  ตัดขอบกล่องโดยติดกระดาษกาวย่นที่มุมทุกด้านของกล่อง ทั้ง 2 แล้วนำกล่องลังทั้ง 2 ติดกันโดย
ใช้กาวร้อน
4.  เตาแก๊ส : ตัดกระดาษลูกฟูกเป็นแผ่นวงกลมติดกาวร้อนแล้ววางตรงกลาง
5.  ติดแม่เหล็กในฝาขวดน้ำพลาสติกแล้วติดลงบนกล่องลัง ติดแม่เหล็กในฝาขวดอลูมิเนียมแล้วติดกับ
แผ่นกระดาษวงกลมเล็ก จากนั้นนำมาวางเป็นหัวแก๊สที่ถอดได้หมุนได้
6.  อ่างล้างจาน : เจาะบนกล่องลังเป็นสี่เหลี่ยมให้เท่ากับกล่องพลาสติก แล้วนำกล่องพลาสติกใส่
ลงไป  ติดก๊อกน้ำบนกระดาษลูกฟูกด้านหลัง  
7.   ตกแต่งโดย ทำกล่องไมโครเวฟ , ติดที่แขวนตะหลิวด้านบน ,ติดกล่องใส่ช้อนส้อม และประดับชุด
เครื่องครัว

สื่อชิ้นนี้เหมาะกับเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 6 ปี

ประโยชน์จากสื่อ สามารถพัฒนาเด็กได้ทั้ง 4 ด้าน  ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา
1.   ส่งเสริมด้านร่างกาย :  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กในการหยิบจับสิ่งของต่างๆ ได้
คล่องแคล่ว
2.  ส่งเสริมด้านความรู้สึก : เด็กรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน เล่นได้ทั้งคนเดียวและเป็นกลุ่ม

3.  ส่งเสริมด้านสังคม : เด็กเข้าใจบทบาทของตัวเอง ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และมีการช่วยเหลือ
แบ่งปันกัน
4.  ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ : เด็กได้คิดจินตนาการ การเล่นบทบาทสมมติในแบบของตัวเอง
5.  ส่งเสริมด้านการจำ : ในการเล่นบทบาทสมมติชุด Mini Kitchen  เด็กมีประสบการณ์เดิมจากที่
บ้าน เด็กจะได้จดจำสิ่งของที่ใช้ในครัว จดจำวิธีการต่างๆในการทำอาหาร หยิบจับสิ่งต่างๆ ได้
คล่องแคล่ว
6.  ส่งเสริมด้านภาษา : ในการเล่นบทบาทสมมติ เด็กได้ฝึกการพูดคุยในขณะที่เล่นตามบทบาทและ
จินตนาการ 


สื่อ ชิ้นนี้สามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้
ในเรื่อง สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
       ➤  สะท้อนให้เห็นว่า บทบาทสมมติสามารถสอนทักษะทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้






สุดท้ายนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการนำความรู้ไปใช้และบอกแนวข้อสอบเพื่อให้นักศึกษาไปค้นคว้า
หาความรู้ ทบทวน และอ่านเพื่อใช้สอบ ได้แก่

1.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีวิธีการอย่างไร

2. การเรียนวิทยาศาสตร์เกิดผลดีอย่างไร

3.เทคนิคของวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

4. ความสอดคล้องของกระบวนการวิทยาศาสตร์ การให้เด็กลงมือกระทำ เป็นอย่างไร

5. เจคติทางด้านวิทยาศาสตร์มีเพื่อให้เกิดอะไรขึ้น ( ประโยชน์ )




( Skill )ทักษะที่ได้รับ 

             การนำความรู้ทางกระบวนการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการวางแผนงานอย่างเป็นลำดับขั้น  ได้กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาต่างๆ และถ่ายทอดออกมาเป็นผลงาน เพื่อนำไปใช้จัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าไม่สิ้นเปลือง และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า


Apply การนำมาประยุกต์ใช้

ได้นำกระบวนการทางวทยาศาสตร์ที่มีขั้นตอน มาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้กับเด็ก เช่น กิจกรรมการทดลอง การทำแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ทักษะการพูด การอธิบาย ความรู้ เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจ


Technique เทคนิคที่อาจารย์สอน 
             อาจารย์สรุปความรู้ให้ฟัง ใช้การถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและเชื่อโยงความรู้จากวิทยาศาสตร์ อธิบาย และเน้นย้ำคำ หรือประโยคที่สำคัญในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แนะแนวทางในการนำไปใช้และให้นักศึกษา 

Assessment
My self : ตั้งใจฟังและ จดบันทึก ตอบคำถามและ นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปปรับแก้ได้อย่างถูกต้อง
Friend : ตั้งใจฟังและจดบันทึก ตอบคำถาม
teacher : อาจารย์สรุปความรู้ให้นักศึกษาเข้าใจ ทบทวนความรู้ให้ และบอกแนวข้อสอบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำข้อสอบ






Diary No.14
Friday 16 November 2018 : 08.30 AM.- 12.30 PM

Knowledge Summary สรุปความรู้

              อาจารย์ให้นักศึกษาเขียน mind map ใส่กระดาษคนละ 1 แผ่น เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  ในการออกแบบ mind map จะมีหัวข้อเรื่องที่จะเรียน และมีรายละเอียดย่อยๆ ท้งหมดมี 5 วัน 5 เรื่องย่อยๆ  เพื่อใช้ในการนำไปจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ให้กับเด็กปฐมวัย

1. Mind map   หน่วย พืช ( ส่งในห้องเรียน ) 


อาจารย์ให้คำแนะนะ : รูปแบบ mind map  ถูกต้องเนื้อหาบางส่วนถูกต้อง
สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข

1. แบ่งหัวข้อเรื่องใหม่ให้ชัดเจน ดังนี้
   - ชนิดของพืช
        - ลักษณะของพืช
      - การดูแลรักษา
     - การแพร่พันธ์ 
           - ประโยชน์ของพืช


2. Mind map   หน่วย พืช ( แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 )


อาจารย์ให้คำแนะนะ : รูปแบบ mind map  ถูกต้องเนื้อหาบางส่วนถูกต้อง เพิ่มเติมรายละเอียดย่อย แบ่งหัวข้อเรื่องใหม่
สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข

1. แบ่งหัวข้อเรื่องใหม่ให้ชัดเจน ดังนี้
   - ชนิดของพืช
        - ลักษณะของพืช
      - การดูแลรักษา
     - การแพร่พันธ์ 
           - ประโยชน์ของพืช

➤ หลังจากอาจารย์ตรวจ mind map ของแต่ละกลุ่มเรียบร้อยแล้ว จึงให้เลือกมา 1 แผน ของกลุ่มการทดลอง เพื่อนำมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และแบ่งหน้าที่กันคิดกิจกรรมเขียนคนละ 1 เรื่อง ใน 5 วันของแผน 1 แผน 


3. Mind map   หน่วย พืช ( แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 ) และนำ  Mind map มาจัดทำแผนประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

แผนที่เลือก คือ หน่วย พืช
กลุ่มดิฉัน มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เรื่อง พืช โดยสอนเรื่องต่างๆ  5 วันดังนี้

➤ วันจันทร์  เรื่อง ชนิดของพืช
➤ วันอังคาร  เรื่อง ลักษณะของพืช
➤ วันพุธ    เรื่อง การดูแลรักษาและการขยายพันธ์
➤ วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของพืช
➤ วันศุกร์ เรื่อง โทษของพืช

แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วย พืช ( จันทร์ - ศุกร์ )


สมาชิกในกลุ่ม 
           1. นางสาวสุพรรณิการ์      สุขเจริญ
  2. นางสาวอภิชญา     โมคมูล
3. นางสาวอรอุมา    ศรีท้วม 
4. นางสาวณัฐชา    บุญทอง
   5. นางสาวปรางทอง    สุริวงษ์

แผนที่ 1 ➤ วันจันทร์  เรื่อง ชนิดของพืช
ใช้เทคนิคการสอน ➣ การสนทนาซักถาม
                                                     เกมการจัดหมวดหมูชนิดของพืช




แผนที่ 2 ➤ วันอังคาร  เรื่อง ลักษณะของพืช
ใช้เทคนิคการสอน ➣ Mind map
                        นิทาน




แผนที่ 3 ➤ วันพุธ  เรื่อง การดูแลรักษาและการขยายพันธ์
ใช้เทคนิคการสอน ➣ การลงมือปฏิบัติ
                                          ➣ การเรียนรู้นอกห้องเรียน




แผนที่ 4 ➤ วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของพืช
ใช้เทคนิคการสอน ➣ การสาธิต
                                          การลงมือปฏิบัติ




แผนที่ 5 ➤ วันศุกร์ เรื่อง โทษของพืช
ใช้เทคนิคการสอน ➣ นิทาน
                                         คำคล้องจอง




ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน



Technique เทคนิคที่อาจารย์สอน 
            อาจารย์ประเมินผลนักศึกษาจากผลงานที่ทำส่ง และปรับแก้สิ่งที่ผุ้เรียนควรปรับปรุงให้อย่างละเอียด

Skills ทักษะ 
            ได้ทักษะในการแก้ไขข้อบกพร่องตั้งแต่การวางแผนโครงเรื่อง ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ทักษะการทำงานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในกลุ่มในการวางแผนงาน และมีการคิดเนื้อหากิจกรรมการสอนต่างๆ ในแต่ละวันให้มีความเชื่อมโยงกัน ทักษะการใช้เทคโนโลยีที่สร้างสรรค์มากกขึ้นในการสร้าง Mind map

Apply การนำมาประยุกต์ใช้
ได้นำกระบวนการเรียนรู้ในการทำแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการทำแผน นำคำพูดการสอนของอาจารย์มาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถเขียนแผนได้ด้วยความเข้าใจ

Assessment
My self : ตั้งใจฟังและสามารถนำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปปรับแก้ได้อย่างถูกต้อง มีการวางแผนงานที่ดีขึ้นและเข้าใจในเนื้อหาที่จะนำไปจัดทำแผน
Friend : มีการแบ่งหน้าที่กันและวางแผนการทำงานกลุ่ม
teacher : อาจารย์แนะนำการใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้กับนักศึกษา


สรุปบทความ ( 7/12/61) บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องสั้ตว์  Animals             ⏩   การจัดประสบการณ์หน่วย สัตว์ อยู่ใน สาระที่...