วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

Diary No.7 Friday, 21 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary สรุปความรู้

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์แจกแผ่นความรู้การทดลองหน่วยวิทยาศาสตร์เรื่องต่างๆ ของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ให้อ่านคนละ 1 เรื่อง แล้วแจกกระดาษให้นักศึกษาสรุปเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ลงในกระดาษ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

รื่องที่ได้ คือ เรื่องไฟฟ้า



นำหรือไม่นำไฟฟ้า ! กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง

แนวความรู้ วัสดุที่สามารถให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน และไฟฟ้าติดสว่างได้ เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า และ วัสดุที่ไม่สามาถให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ หรือไฟไม่ติดสว่าง เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า

ปัญหา กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง

สมมติฐาน เมื่อนำ ตัวนำไฟฟ้า และ ฉนวนไฟฟ้า มาวางแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

การทดลอง 1. ต่อสายไฟตัวหนีบปากจระเข้ทั้ง 3 สาย เข้าไปในวงจรไฟฟ้า ตรวจสอบว่าหลอดไฟ สว่างหรือไม่
2. ดึงตัวหนีบที่จุดต่อระหว่างสายไฟ 2 สาย แล้วดูว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
3. เชื่อมจุดต่อระหว่างตัวหนีบปากจระเข้ 2 ข้าง ด้วยช้อนโลหะ ดุว่าหลอดไฟสว่างหรือไม่
4. รวบรวมวัสดุที่ต้องการนำมาทดสอบ เช่น เทียน ยางลบ ไม้ โลหะอื่นๆ เช่น ส้อม กรรไกร แผ่นอลุมิเนียม เป้นต้น
5. เชื่อต่อตัวหนีบปากจระเข้ทั้ง 2 อัน ด้วยวัสดุที่เตรียมมาทีละอย่าง ถ้าหนีบกับวัสดุไม่ได้ให้แตะตัวหนีบกับวัสดุแทน
6. เตรียมแผ่นป้ายหลอดไฟติดสว่าง สีเหลือง และหลอดไฟดับ สีเทา แยกประเภทวัสดุ โดยนำวัสดุที่ทดลองมาใส่ตะกร้าตามสมบติการนำไฟฟ้าของวัสดุนั้น แล้วเปรียบเทียบสมบัติของวัสดุนั้น
กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คนละ 1 อย่างโดยไม่ว้ำกัน และสามารถนำมาใช้ได้จริง  แล้วให้หาวัสดุภายในห้องเรียนประดิษฐ์ให้เสร้จเรียบร้อย 

สิ่งประดิษฐ์ที่เลือกคือ  กล้องสายรุ้ง

 







อุปกรณ์ที่ใช้ คือ  1.แกนกระดาาทิชชู่
                          2.กระดาษสี แข็ง / บาง
                          3.กาว / สก็อตเทปใส
                          4.แผ่นซีดี แบบใส
วิธีทำ   1. นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปวงกลมให้เท่าทั้ง 2 ด้านของแกน อีกวงหนึ่งให้ตัดเป็นรู้กว้างตรงกลาง
            2. นำวงกลมที่ตัดแล้วแปะเพื่อปิดทางทั้งสองข้างของแกนทิชชู่  
            3. ด้านที่ไม่มีรู้กว้างตรงกลาง ให้ใช้ปากกาหรือของแหลมเล็กๆเจาะรู ประมาณ 3 - 6 รู 
            4.แผ่นซีดีที่มีด้านสีขาวติดให้ใช้เทปใสลอกออกจะได้แผ่นซีดีแบบใส แล้วนำมาตัดเป็นวงกลม แปะตรงกลางของด้านที่เป็นรูวงกลมตรงกลาง ตรงข้ามกับที่เจาะรูเล็กๆ แปะเทปใสให้แน่น 
            5.ตกแต่งกล้องให้สวยงามตามความชอบ
            6.นำมาส่องที่หลอดไฟ หรือส่องดวงอาทิตย์ โดยมองผ่านด้านที่เป็นแผ่นซีดี เมื่อส่องแล้วจะมีแสงตกกระทบภายในกล่องเป็นสีสายรุ้ง หากส่องที่ๆไม่มีแสงก็จะไม่เกิดอะไร

ผลของการใช้  ให้เด็กเรียนเรื่องของสเปคตรัมของแสง  เป็นการแยกแสงขาวของดางอาทิตย์ออกเป็น  7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เป็นต้น 



ภาพกิจกรรม 




Teaching Methodes (วิธีการสอน)
ให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า คิดสร้างสรรค์ต่อยอดและลงมือกระทำ และคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ภายในเวลาที่กำหนดเป้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัว

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
             สามารถนำไปใช้ในการทดลองและสอนเด็กๆเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันได้ และนำสิ่งประดิษฐ์มาใช้ได้จริงในการเรียนรู้    
           
Assessment ( การประเมิน )
             - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบตามหน้าที่ บกพร่องในเรื่องช้ากว่าเวลาที่กำหนดมีความพยายามที่จะหา และทำให้เสร้จตามเวลา
                - Friend : ตั้งใจเรียนและทำงานของตัวเองสำเร็จลุล่วง
              - Teacher : ให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางในการเรียนรู้และหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย ให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง 





วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561


Diary No.6 Friday, 14 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary สรุปความรู้
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาค้นหาวิจัย และบอกชื่อวิจัยพร้อมกับอธิบายถึงเป้าหมายของวิจัยและตัวอย่างกิจกรรมหรือแผนการจัดกิจกรรมในวิจัยนั้นๆ อาจารย์ได้ฟังและให้คำแนะนำต่างๆเกี่ยวกับการหาวิจัย การสร้างกิจกรรมการสอน และการสรุปงานวิจัย

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปัญหา สมมติฐาน ทดลอง เก็บข้อมูล สรุปผล

....ก่อนการสรุปผลข้อมูล ใขั้นตอนการเก้บข้อมูลจะต้องมีการตรวจสอบก่อนทุกครั้ง....

5 E คือะไร ?
1.สร้างความสนใจ
2.สำรวจและค้นหา
3.อธิบาย - ปรับปรุง
4.ขยายความรู้
5.การประเมิน
วิธีนี้เหมาะกับการนำไปใช้ สร้างเสริมประสบการณ์

งานที่มอบหมาย   ค้นหาและจัดเตรียมสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถทำได้เองจากวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้



Teaching Methodes (วิธีการสอน)
            การถามเพื่อให้คิดหาคำตอบ การแนะนำความรู้ต่างๆ และสอดแทรกตัวอย่างให้เห็นภาพ

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
              นำมาปรับใช้ในการหาวิจัย ทำสรุปต่างๆ

Assessment ( การประเมิน )
            - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบ จดบันทึกการเรียนรู้
               - Friend : ตั้งใจฟัง จดบันทึก
               - Teacher : อารมณ์ดี เป็นกันเอง พูดเข้าใจชัดเจน เสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้



Diary No.5 Friday, 7 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary สรุปความรู้
  อาจารย์มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มปรึกษากันคิดฐานกิจกรรมต่างๆที่จะให้เด็กๆทำและเหมาะสมกับองค์ประกอบของกิจกรรมที่คิดขึ้นมา ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เมื่อไปจัดกิจกรรมจะได้มีความพร้อมและสมบูรณ์

Assessment ( การประเมิน )
             - Self : มีความรับผิดชอบในหน้าที่
                - Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
                - Teacher : มอบหมายงาน  ไม่ละเลยในหน้าที่  ให้คำแนะนำไปปรับใช้


วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561


Diary No.4 Friday, 31 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary สรุปความรู้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
🔺🔻เด็กปฐมวัยจะพัฒนาได้อย่างไร? การจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึง เนื้อหา ความรู้ ลักษณะที่เหมาะสมของเด็กเป็นไปตามลำดับขั้นที่ต่อเนื่อง
วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวของเรา

เด็กปฐมวัย → วัยที่อยากรู้อยากเห็น
→ แสวงหาความรู้ ความสามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
→ วัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดของชีวิต ( แรกเกิดถึง 6 ปี )
คุณภาพของสมอง คือ อาหาร น้ำ และการพักผ่อน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ทักษะการสังเกต ( Observation ) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย สัมผัสโดยตรงกับวัตถุ มีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลรายละเอียดของสิ่งๆนั้น ( ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
เช่น 1.1 การสังเกตรูปร่างลักษณะ
1.2สังเกตการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การตวง
1.3สังเกตการเปลี่ยนแปลง
2.ทักษะการจำแนกประเภท ( Classifying ) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ เช่น
2.1 ความเหมือน ( Similarities ) มีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างเอาเข้ากลุ่มเดียวกัน
2.2 ความแตกต่าง ( Differences ) มีลักษณะต่างกันเอาออกจากกลุ่ม
2.3 ความสัมพันธ์ร่วม ( Interrelationships ) มีบางสิ่งที่เหมือนกันสัมพันธ์กัน
3.ทักษะการวัด ( Measurement ) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการ โดยมีหน่วยการวักกำกับ เช่น
3.1 รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
3.2 เลือกเครื่องมือวัด
3.3 วิธีการที่จะวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย ( Cummunication ) หมายถึง การพูด เขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถในการรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เช่น
4.1 บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
4.2 บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
4.3 บอกความสัมพันธ์ของข้อมูล
4.4 จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring ) หมายถึง การเพิ่มเติ่มความคิดเห็นข้อมูลที่มี อยุ่โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์เดิม เช่น
5.1 ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
5.2 ลงข้อสรุปความสัมพันธ์สิ่งต่างๆ
5.3 สังเกตการเปลี่ยนแปลง
6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา ( Space ) หมายถึง การเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ เขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ บอกทิศทาง เงา จากภาพ 3 มิติ หาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา เช่น
6.1 บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
6.2 บอกตำแหน่งทิศทางวัตถุ
6.3 บอกตำแหน่งซ้าย ขวา ขอวภาพวัตถุจากกระจกเงา
7. ทักษะการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ บวก ลบ คูณ หาร บอกลักษณะต่างๆ ความกว้าง ยาว สูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก เช่น
7.1 การนับจำนวนวัตถุ
7.2 การบวก ลบ คูณ หาร
7.3 การนับจำนวนตัวเลข มากำหนด บอกลักษณะของวัตถุ

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
- มาตรฐานด้านผู้เรียน มีความสามารถในกรคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์

สมองกับวิทยาศาสตร์ 1. ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2.หาเหตุผลเชื่อโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพืีอสืบค้นความจริง
3. ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อเห็นภาพรวมทั้งหมด
คุณสมบัติบุคคลที่เอื้ต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1. ควารู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
2. ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม คำถามที่มักใช้ 5W 1H
3. ความสามารถในการลงความเห็น
4. ความสามารถในการหาความสัมพันธืเชิงเหตุผล
องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
1. สิ่งที่กำหนด → สังเกต จำแนก วัด
2. หลักการหรือกฎเกณฑ์ → เกณฑ์จำแนกสิ่งที่เหมือนกัน
3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ → ส่วนที่กำหนดให้ รวบรวม สรุป
สรุปความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น ตามทันโลก ดำรงชีวิตได้กับทุกๆสิ่งในโลกได้
- คาดคะเนอนาคตได้ รู้ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์
- แก้ไขปัญหาต่างๆ

ภาพบรรยากาศการเรียน

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
ใช้ทักษะการสอนความรู้พื้นฐาน ความหมาย หลักการ ทฤษฎีและการนำไปใช้ เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
               นำความรู้มาสรุปทบทวนให้เข้าใจ และนำมาปรับใช้กับการทำกิจกรรม

Assessment ( การประเมิน )
             - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบ จดบันทึกการเรียนรู้
                - Friend : ตั้งใจฟัง จดบันทึก
                - Teacher : เข้าถึงผู้เรียน ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมถูกต้องมากขึ้น สอนตรงเวลา เนื้อหาแน่น


Diary No.3 Friday, 24 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อคิดวางแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก เพื่อนำไปจัดที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
กลุ่มของดิฉันได้คิดกิจกรรม เรื่อง...เล่าความตามภาพที่สนใจ โดยให้เด็กๆทัศนศึกษาภายในของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ดูว่าเด็กๆคนไหนชอบหรือสนใจ สิ่งประดิษฐ์ ชิ้นไหนมากที่สุด ก็นำมาวาดลงในกระดาษ โดยจะแจกกระดาษให้เด็กๆนำไปวาดแล้วครูให้เด็กๆออกมาเล่าให้เพื่อนๆและครูฟังว่าสิ่งที่สนใจคืออะไร เพราะอะไร จากนั้นครูจะให้เด็กๆที่เหลือกลับมาทำกิจกรรมที่โรงเรียนต่อ โดยให้เด็กๆช่วยกันวาดภาพระบายสีตกแต่งสิ่งที่เจอ หรือสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับสถานที่นั้น ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ เพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ และนำผลงานเด็กมาติดบอร์ด จากนั้นเข้าห้องที่ปรึกษานำแผนกิจกรรมส่งอาจารย์


Teaching Methodes (วิธีการสอน)

สอนให้รู้จักวางแผนงานต่างๆ ระดมความคิด และรู้จักนำสิ่งที่เรียนไปแล้วกลับมาใช้อีก เพื่อพัฒนาทักษะการคิดกิจกรรมสำหรับเด็ก

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)

               สามารถนำกิจกรรมที่คิดวางแผนแล้วนั้นไปผลิตสื่อการสอน และนำมาสอนเด็กๆ หรือเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อได้

Assessment ( การประเมิน )

             - Self : ให้ความร่วมมือช่วยทำงานกันในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย  ช่วยคิดวางแผนงาน มาเรียนตรงเวลา ทำงานที่รับผิดชอบได้ดี
                - Friend : ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม
                - Teacher : มอบหมายงานให้ทำ และแนะนำการสร้างกิจกรรมให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งแนะนำการนำกิจกรรมไปประยุกตืใช้ได้ดี



             







สรุปบทความ ( 7/12/61) บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องสั้ตว์  Animals             ⏩   การจัดประสบการณ์หน่วย สัตว์ อยู่ใน สาระที่...