วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561


Diary No.4 Friday, 31 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary สรุปความรู้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
🔺🔻เด็กปฐมวัยจะพัฒนาได้อย่างไร? การจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึง เนื้อหา ความรู้ ลักษณะที่เหมาะสมของเด็กเป็นไปตามลำดับขั้นที่ต่อเนื่อง
วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวของเรา

เด็กปฐมวัย → วัยที่อยากรู้อยากเห็น
→ แสวงหาความรู้ ความสามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
→ วัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดของชีวิต ( แรกเกิดถึง 6 ปี )
คุณภาพของสมอง คือ อาหาร น้ำ และการพักผ่อน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ทักษะการสังเกต ( Observation ) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย สัมผัสโดยตรงกับวัตถุ มีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลรายละเอียดของสิ่งๆนั้น ( ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
เช่น 1.1 การสังเกตรูปร่างลักษณะ
1.2สังเกตการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การตวง
1.3สังเกตการเปลี่ยนแปลง
2.ทักษะการจำแนกประเภท ( Classifying ) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ เช่น
2.1 ความเหมือน ( Similarities ) มีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างเอาเข้ากลุ่มเดียวกัน
2.2 ความแตกต่าง ( Differences ) มีลักษณะต่างกันเอาออกจากกลุ่ม
2.3 ความสัมพันธ์ร่วม ( Interrelationships ) มีบางสิ่งที่เหมือนกันสัมพันธ์กัน
3.ทักษะการวัด ( Measurement ) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการ โดยมีหน่วยการวักกำกับ เช่น
3.1 รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
3.2 เลือกเครื่องมือวัด
3.3 วิธีการที่จะวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย ( Cummunication ) หมายถึง การพูด เขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถในการรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เช่น
4.1 บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
4.2 บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
4.3 บอกความสัมพันธ์ของข้อมูล
4.4 จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring ) หมายถึง การเพิ่มเติ่มความคิดเห็นข้อมูลที่มี อยุ่โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์เดิม เช่น
5.1 ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
5.2 ลงข้อสรุปความสัมพันธ์สิ่งต่างๆ
5.3 สังเกตการเปลี่ยนแปลง
6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา ( Space ) หมายถึง การเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ เขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ บอกทิศทาง เงา จากภาพ 3 มิติ หาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา เช่น
6.1 บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
6.2 บอกตำแหน่งทิศทางวัตถุ
6.3 บอกตำแหน่งซ้าย ขวา ขอวภาพวัตถุจากกระจกเงา
7. ทักษะการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ บวก ลบ คูณ หาร บอกลักษณะต่างๆ ความกว้าง ยาว สูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก เช่น
7.1 การนับจำนวนวัตถุ
7.2 การบวก ลบ คูณ หาร
7.3 การนับจำนวนตัวเลข มากำหนด บอกลักษณะของวัตถุ

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
- มาตรฐานด้านผู้เรียน มีความสามารถในกรคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์

สมองกับวิทยาศาสตร์ 1. ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2.หาเหตุผลเชื่อโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพืีอสืบค้นความจริง
3. ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อเห็นภาพรวมทั้งหมด
คุณสมบัติบุคคลที่เอื้ต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1. ควารู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
2. ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม คำถามที่มักใช้ 5W 1H
3. ความสามารถในการลงความเห็น
4. ความสามารถในการหาความสัมพันธืเชิงเหตุผล
องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
1. สิ่งที่กำหนด → สังเกต จำแนก วัด
2. หลักการหรือกฎเกณฑ์ → เกณฑ์จำแนกสิ่งที่เหมือนกัน
3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ → ส่วนที่กำหนดให้ รวบรวม สรุป
สรุปความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น ตามทันโลก ดำรงชีวิตได้กับทุกๆสิ่งในโลกได้
- คาดคะเนอนาคตได้ รู้ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์
- แก้ไขปัญหาต่างๆ

ภาพบรรยากาศการเรียน

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
ใช้ทักษะการสอนความรู้พื้นฐาน ความหมาย หลักการ ทฤษฎีและการนำไปใช้ เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
               นำความรู้มาสรุปทบทวนให้เข้าใจ และนำมาปรับใช้กับการทำกิจกรรม

Assessment ( การประเมิน )
             - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบ จดบันทึกการเรียนรู้
                - Friend : ตั้งใจฟัง จดบันทึก
                - Teacher : เข้าถึงผู้เรียน ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมถูกต้องมากขึ้น สอนตรงเวลา เนื้อหาแน่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปบทความ ( 7/12/61) บทความเรื่อง...สอนลูกเรื่องสั้ตว์  Animals             ⏩   การจัดประสบการณ์หน่วย สัตว์ อยู่ใน สาระที่...